วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การเรียนการสอนครั้งที่ 7 ภาคเรียนที่ 1/2557

วันที่ 5 ตุลาคม 2557 อาจารย์ผู้สอนได้อธิบายถึงการใช้โปรแกรม SketchUp เบื้องต้น เป็นการสาธิตการขึ้นแบบ เพื่อให้เห็นจุดบอดของบรรจุภัณฑ์มากขึ้น มีรายละเอียดดังนี้

วิธีการหมุน
อาจารย์ผู้สอนได้อธิบายการส่งงาน (Artwork) ในโฟลเดอร์รายบุคคลที่สร้างไว้ใน Google Drive
การสอบกลางภาคในวันที่ 19 ตุลาคม 2557 มีรายละเอียดดังนี้:
1. สอบ SketchUp และขึ้น Artwork ด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator
2. ทำแบบทดสอบใน Claroline

การส่งงาน-จัดแสดงงานในวันสอบ มีรายละเอียดดังนี้:
1. กล่องบรรจุภัณฑ์แบบสมบูรณ์
- ควรทำการตัดสร้าง mock up ก่อนพิมพ์จริง เพื่อตรวจสอบความผิดพลาดของการพับกล่อง
- ลิ้นกล่องส่วนใหญ่จะมีขนาด 2 ซม.
2. อัพโหลดไฟล์ Artwork (Ai) ลง Google Drive:
- แยก layer สำหรับเส้นตัดพับ (Die-cut)
- เมื่อจัดพิมพ์เป็นไฟล์ภาพ (JPEG) ต้องตั้งค่า Resolution เป็น 300 dpi เพื่อความคมชัด
- ใส่/ระบุชื่อผู้ทำและควรมีรูปประกอบการทำงานจริง

การเรียนการสอนครั้งที่ 6 ภาคเรียนที่ 1/2557

วันที่ 28 กันยายน 2557 อาจารย์ผู้สอนได้อธิบายเกี่ยวกับการนำเสนอผลงานในรูปแบบงานกลุ่ม โดยได้ยกตัวอย่างบล็อคกลุ่ม Dimension ที่สร้างให้กับผู้ประกอบการ "กลุ่มแม่บ้านท่าทราย"http://baanthasai.blogspot.com/ มีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ใส่คำอธิบายใต้ชื่อบล็อค "โครงการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อวิสาหกิจชุมชนจังหวัดชัยนาท โดยกลุ่ม Dimension"
2. การใส่ผลงานของแต่ละคน สามารถแยกได้โดยการสร้าง Tab ส่วนตัวของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดได้
3. ควรใส่ข้อมูลผู้ประกอบการให้ครบถ้วน
4. ส่งคำเชิญให้อาจารย์เป็นผู้เขียนร่วม (admin)


1. Packmage
http://www.packmage.com/
เว็บไซต์ที่รวบรวมแบบบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูป โดยการใช้งานต้องทำการสมัครสมาชิกก่อน สามารถศึกษาดูแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อนำไปปรับใช้ในการขึ้นแบบบรรจุภัณฑ์ของตนเองได้

ที่มา : น.ส.ปาจรีย์ เขียวชอุ่ม,2557

การเรียนการสอนครั้งที่ 5 ภาคเรียนที่ 1/2557

วันที่ 21 กันยายน 2557 อาจารย์ผู้สอนได้อธิบายเกี่ยวกับการตอบ/วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรค โอกาส (SWOT Analysis) ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ประเด็นคือ วิเคราะห์จากภายนอกและภายใน โดยได้อธิบายและยกตัวอย่างดังนี้
1. ภายนอก: โครงสร้างและกราฟิก
- จุดอ่อน: รูปแบบตัวอักษรที่ใช้ไม่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์
- จุดแข็ง: สินค้าได้รับรางวัล OTOP, เป็นเจ้าเดียวในจังหวัด, ใช้บรรจุภัณฑ์เหมาะสมกับตัวสินค้า, ตราสัญลักษณ์ใช้มานานแล้ว
2. ภายใน:
- อุปสรรค: ต้นทุนต่ำ, สินค้ายังไม่ได้อย. , คู่แข่งมีบรรจุภัณฑ์ที่ดีกว่า, (สามารถศึกษาได้จากผลิตภัณฑ์คู่แข่ง)
- โอกาส: ผลิตภัณฑ์มีวางตลาดมานานแล้ว

การเรียนการสอนครั้งที่ 4 ภาคเรียนที่ 1/2557

วันที่ 14 กันยายน 2557 ได้ฟังเพื่อนแปล-สรุปข่าวจำนวน 3 คน และ present จำนวน 2 กลุ่ม โดยอาจารย์ผู้สอนได้ให้ไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทสุขภาพและความงาม โดยแนะนำเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องดังนี้

1. สมุนไพรอภัยภูเบศร http://www.abhaiherb.com/
ที่มา : น.ส.ปาจรีย์ เขียวชอุ่ม,2557

แบรนด์สินค้าประเภทสุขภาพและความงามยี่ห้อหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน โดยอาจารย์ผู้สอนให้ศึกษาดูการออกแบบบรรจุภัณฑ์และวิธีการขายหรือจุดขายของแบรนด์นี้

การเรียนการสอนครั้งที่ 3 ภาคเรียนที่ 1/2557

วันที่ 10 กันยายน 2557 ได้ฟังเพื่อนนำเสนอ-สรุปข่าวสาร 3 คน โดยอาจารย์ผู้สอนได้วิเคราะห์ข่าวของแต่ละคนเช่นเคย เพื่อเพิ่มความชัดเจนให้กับประเด็นของแต่ละข่าวมากขึ้น
วันนี้แต่ละกลุ่มได้นำเสนอ ส. 1 สืบค้น (Research) ที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าสินค้าของแต่ละอำเภอ โดยใช้ Mood Board เป็นสื่อประกอบในการนำเสนอ ซึ่งอาจารย์ผู้สอนได้ให้คำแนะนำแต่ละกลุ่มตามปัญหาของสินค้าที่แตกต่างกันไป เนื่องจากยังมีจุดบกพร่องในการศึกษาหาข้อมูลและคิดวิเคราะห์ โดยเนื้อหามีดังนี้

1. ทำความเข้าใจในการทำ Mood Board ใหม่
Mood Board คือ ตัวช่วยทำให้เกิดความเข้าใจได้รวดเร็วที่สุด เป็นการรวบรวมข้อมูลที่สรุปแล้ว รูปภาพที่ใช้ควรถ่ายให้สวยงามและแสดงการวิเคราะห์ส่วนประกอบต่างๆ ของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ (Product & Package Visual Analysis) ให้ชัดเจน

2. ข้อมูลที่ควรศึกษาเพิ่มเติม
ในการศึกษาข้อมูลของสินค้าต้องมีการทดลองสินค้า ลงพื้นที่ และติดต่อสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อให้การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในการนำเสนอ ส. 1 สัปดาห์นี้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้าและผู้ประกอบการยังไม่เพียงพอ แนะนำให้ลงพื้นที่และเข้าหาผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการในการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ที่เลือกมาพัฒนา

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การเรียนการสอนครั้งที่ 2 ภาคเรียนที่ 1/2557

    วันที่ 31 สิงหาคม 2557 อาจารย์ให้ศึกษาขั้นตอนการทำงาน โดยการทำงานเป็นกลุ่มและให้ทำงานกับผู้ประกอบการจริง โดยสามารถศึกษางานได้จากไดร์ของอาจารย์ที่แชร์ไว้ให้ ซึ่งจะมีตัวอย่างในการทำงานทั้งหมดไว้ให้ศึกษาเป็นตัวอย่าง
 ที่มา : น.ส.ปาจรีย์ เขียวชอุ่ม,2557 
อ้างอิงจาก : ผศ.ประชิด ทิณบุตร

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม

สุขภาพ หมายถึง
    “สุขภาพ” มีความหมาย 3 ประการ คือ
 ความปลอดภัย (Safe) 
 ความไม่มีโรค (Sound)
 หรือทั้งความปลอดภัยและไม่มีโรค(Whole) 
    ดังนั้น ความหมายของคำว่า “สุขภาพ” จึงหมายถึง ความไม่มีโรคทั้งร่างกายและจิตใจ (Soundness of or mind) องค์กรอนามัยโลกได้ให้คำนิยามคำว่า “สุขภาพ”ในความหมายที่กว้างขึ้นว่า หมายถึง สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต และทางสังคม
      ตามร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ 2545 ให้ความหมายของคำว่า “สุขภาพ” คือภาวะที่มีความพร้อมสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย คือ ร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง คล่องแคล่ว มีกำลัง ไม่เป็นโรค ไม่พิการ ไม่มีอุบัติเหตุอันตราย มีสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาพทางจิตใจ คือ มีจิตใจที่มีความสุข รื่นเริง ไม่ติดขัด มีเมตตา มีสติ มีสมาธิทางสังคม คือ มีการอยู่ร่วมกันด้วยดี มีครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมมีความยุติธรรม และทางจิตวิญญาณ คือ ความสุขที่เกิดขึ้นเมื่อทำความดีหรือจิตใจได้สัมผัสสิ่งที่มีคุณค่าอันสูงส่ง โดยทั้ง 4 ด้านนี้ จะต้องเกิดขึ้นจากการจัดการทางสุขภาพในระดับต่างๆทั้งสุขภาพในระดับของปัจเจกบุคคล (Individual Health) สุขภาพของครอบครัว (Family Health) อนามัยชุมชน (Community Health) และสุขภาพของสาธารณะ (Public Health)